Investor Relations

คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน

ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทย

เศรษฐกิจไทย ในปี 2565 โดยภาพรวม ขยายตัวร้อยละ 2.6 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2564 ตามการฟื้นตัวของภาคการ ท่องเที่ยว และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว ร้อยละ 6.3 และร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.6 และร้อยละ 3.0 ในปี 2564 ตามลำดับการส่งออก บริการกลับมาขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 65.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.9 ในปีก่อน หน้า ขณะที่การส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 1.3 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 15.3 ในปี 2564 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.9 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารกลับมาขยายตัวร้อยละ 39.3 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง ร้อยละ 15.0 ของปี ก่อนหน้า สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 2.8 ในปี 2564 และสาขา การขายส่งและการขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในปี 2564 ส่วนสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้น จากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2564 ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2564 และสาขาการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.7 รวมทั้งปี 2565 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 17.4 ล้านล้านบาท (4.95 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก 16.2 ล้านล้านบาท (5.05 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2564 และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 6.1 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.4 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปลายปี 2565 เนื่องต่อไปปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาจาก

(1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 จะอยู่ที่ 1.31 ล้านล้านบาท เทียบกับ 0.58 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เทียบ กับร้อยละ 8.5

(2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

  • การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.1 ปรับลดลงจากร้อยละ 2.6 ในการประมาณการครั้งก่อน และเทียบ กับร้อยละ 5.1 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการลดลงของการส่งออกสินค้า
  • การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 4.9 ในปี 2565 และ เป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.4 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายงบลงทุนใน ปีงบประมาณ 2566 วงเงิน 664,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 จากวงเงิน 564,319 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 และการ ปรับกรอบงบประมาณหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

(3) การขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภค บริโภคภาคเอกชน

  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 6 การขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจตามการปรับตัวดีขึ้นของ ภาคการท่องเที่ยวและภาคเกษตร รวมทั้ง ตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.04 ในปี 2565 และเป็นการปรับลดจากการลดลงร้อยละ 0.1 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการปรับลดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำภายหลังการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณปี 2566 รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายจากพระราชกำหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และพระราชกำหนดเงินกู้ฯ 5 แสนล้านบาท ส่วนการลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.3 ในปี 2565

(4) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร

แหล่งที่มาของข้อมูล : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2565 ปี 2564 เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
รายได้จากการดำเนินงาน 3,172.49 2,006.72 1,165.77 58.1
ต้นทุนจากการดำเนินงาน (1,792.95) (1,255.69) (537.26) 42.8
รายได้เงินปันผล 63.69 66.53 (2.84) (4.3)
กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน 613.87 301.68 312.19 103.5
กำไร(ขาดทุน)จากการขายสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น 375.55 1,483.16 (1,107.61) (74.7)
รายได้อื่น 107.75 97.70 10.05 10.3
รวมรายได้จากการดำเนินงาน (1) 2,540.40 2,700.10 (159.70) (5.9)
รวมค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน (709.98) (428.22) (281.76) 65.8
กำไร(ขาดทุน)จากการดำเนินงานในธุรกิจไฟฟ้า (39.33) 1,466.21 (1,505.54) (102.7)
กำไรจากกิจกรรมดำเนินงานก่อนส่วนแบ่งกำไร (2) 1,791.09 3,738.09 (1,947.00) (52.1)
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 41.96 49.27 (7.31) (14.8)
ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า 374.24 (99.87) 474.11 (474.7)
กำไรจากการดำเนินงาน (3) 2,207.29 3,687.49 (1,480.20) (40.1)
ต้นทุนทางการเงิน 992.83 1,027.32 (34.49) (3.4)
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 230.59 379.58 (148.99) (39.3)
กำไรสุทธิ 983.87 2,280.59 (1,296.72) (56.9)
การแบ่งปันกำไร        
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 1,139.71 1,937.82 (798.11) (41.2)
ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (155.84) 342.77 (498.61) (145.5)

(1) ไม่รวมกำไร(ขาดทุน)จากการดำเนินงานในธุรกิจไฟฟ้า

(2) กำไรจากกิจกรรมดำเนินงานก่อนส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้

(3) กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน และภาษีเงินได้

ภาพรวมของผลการดําเนินงาน

บริษัทฯ มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นในบริษัทใหญ่สำหรับปี 2565 เท่ากับ 1,139.71 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้นทุนหลักของธุรกิจการผลิตไฟฟ้าซึ่งคือก๊าซธรรมชาติเหลวได้มีราคาสูงขึ้นและผันผวนเป็นอย่าง มาก ประกอบกับไม่มีการเพิ่มขึ้นของค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าค่าเอฟที (FT) โดยภาพรวมบริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจแยก เป็นส่วนงานธุรกิจหลักได้ 2 ประเภทคือธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และระบบสาธารณูปโภค ผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำใช้ เพื่ออุตสาหกรรม

ผลประกอบการจากการดำเนินธุรกิจหลัก

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2565 ปี 2564 ปี 2563
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 2,443.61 1,242.68 1,403.59
รายได้จากการขายไฟฟ้า 13,995.61 10,552.37 10,020.84
รายได้จากการให้บริการและให้เช่า 728.88 764.04 729.81
รวม 17,168.10 12,559.09 12,154.24

รายได้จากการประกอบกิจการ ของบริษัทและบริษัทย่อย คือ รายได้จากการขายที่ดิน, รายได้จากการขาย (ผลิตไฟฟ้า), บริการและค่าเช่าในปี 2565 มีรายได้จากการประกอบกิจการ 17,130 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 12,520 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 12,114.52 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

ธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายได้ปี 2565 เท่ากับ 2,443.61 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 1,243 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 97 โดยบริษัทฯดำเนินธุรกิจในประเภทเขต/สวนอุตสาหกรรมจำนวน 10 โครงการตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดระยอง (อำเภอบ้านค่ายและปลวกแดง),จังหวัดปราจีนบุรีและในจังหวัดชลบุรี ที่โครงการบ่อวิน,เขาคันทรง,แหลมฉบัง, หนองใหญ่ และเขาไม้แก้ว ซึ่งลูกค้าให้ความสนใจด้านทำเลที่ตั้งและการคมนาคม ขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วประกอบกับสิทธิประโยชน์ภายใต้พรบ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) โดยในด้านการตลาด บริษัทได้ร่วมมือกับ Nippon Steel Trading Corporation ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเข้ามาทำการตลาดให้นอกจากนี้ บริษัทยังเสริมด้านการตลาดโดยการจัดตั้งทีมงานการตลาดของบริษัทที่เป็นคนไทยและคนจีน โดยเฉพาะเพื่อคอยดูแลนักลงทุน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศทั้งในด้านก่อนการขายและบริการหลังการขายโดยในปีนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวจีน และญี่ปุ่น รองลงมา โดยการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามงบการเงินจะรับรู้รายได้ต่อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ไปให้กับลูกค้า ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทและบริษัทย่อยได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้าที่ซื้อที่ดินในโครงการที่พระนครศรีอยุธยา ระยองปลวกแดง,ชลบุรี-แหลมฉบัง, ชลบุรี-เขาคันทรง ชลบุรี-บ่อวิน และชลบุรี-หนองใหญ่ รวมเป็นจำนวน 642 ไร่

ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รายได้ปี 2565 เท่ากับ 13,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33 โดยได้มีการดำเนินการดังนี้

บริษัทย่อย (บริษัท โรจนะเพาเวอร์ จำกัด) เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Cogeneration Power Plant) ซึ่งตั้งอยู่ที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีกำลังการผลิตรวม 470 เมกะวัตต์ ซึ่งขายให้กับกฟผ.270 เมกะวัตต์ (ใน รูปแบบสัญญาSPP-Firm) ส่วนที่เหลือขายให้กับโรงงานเอกชนภายในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บริษัทย่อย (บริษัท โรจนะ เอ็นเนอร์จี จำกัด) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง ตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีกำลังการผลิตรวม 24 เมกะวัตต์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับ ซื้อทั้งหมดภายใต้สัญญา VSPP ประกอบกับบริษัทย่อยอีก 2 แห่ง ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประเภท ติดตั้งบนหลังคา ในนาม บริษัท อาร์เจ เอนเนอร์จี จำกัด และบริษัท อาร์แอลเอ็น เอ็นเนอร์จี จำกัด

ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรมและการบำบัดน้ำเสีย มีรายได้ในส่วนค่าเช่าและบริการปี 2565 เท่ากับ 729 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 764 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.6 และลดลงจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 730 ล้านบาท บริหารจัดการโดยบริษัทและบริษัทย่อย (บริษัทย่อย คือ บริษัท โรจนะ อินดัสเตรียล แมเนจเม้นท์ จำกัด) เป็นการให้บริการแก่ โรงงานอุตสาหกรรมภายในโครงการ ในงบการเงินรวมจะมีการตัดรายการระหว่างกัน ซึ่งได้มีรายได้ลดลงจากความต้องการใช้น้ำของผู้ประกอบการในโครงการของบริษัท

รายได้อื่นที่มิใช่เกิดจากการประกอบธุรกิจหลักที่สำคัญ คือ กำไรจากการขายสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่นซึ่งเป็น ขายเงินลงทุนในตราสารทุนในตลาดต่างประเทศ โดยในปี 2565 บริษัทได้ทำการขายทั้งหมด และรับรู้กำไรเป็นจำนวน 37 ล้าน บาท ลดลงจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 1,483 ล้านบาท และเพี่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมีจำนวน 60 ล้านบาท

ต้นทุนขายสินค้าและบริการ

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2565 ปี 2564 เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ – สุทธิ 1,241.08 712.34 528.74 74.0%
ต้นทุนการขายไฟฟ้า – สุทธิ 14,034.94 9,086.16 4,948.78 54.0%
ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า – สุทธิ 551.87 543.35 8.52 2.0%
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่าย 663.82 496.39 167.43 34.0%

ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ ปี 2565 และ 2564 เท่ากับ 1,241 ล้านบาท และ 712.33 ล้านบาท ตามลำดับ เนี่องจาก เป็นต้นทุนในโครงการที่มีราคาต่ำกว่า ประกอบกับในปี 2565 มีที่ดินที่โอนกรรมสิทธิ์จำนวนรวม 642 ไร่ ซึ่งมากกว่าปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 310 ไร่

ต้นทุนการขายไฟฟ้า – สุทธิ ปี 2565 และ 2564 เท่ากับ 14,035 และ 9,086 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 54 จากปัจจัยราคาของก๊าซธรรมชาติที่ปรับสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า ปี 2565 และ 2564 เท่ากับ 552 และ 543 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่ายปี 2565 ของบริษัทและบริษัทย่อย เท่ากับ 664 ล้านบาท เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 167 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 34 เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจเพื่อติดต่อ ลูกค้า, การโฆษณาประชาสัมพันธ์, ค่านายหน้า, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้า และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การบริหารทั่วไป

ต้นทุนทางการเงินปี 2565 บริษัทและบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงิน เท่ากับ 993 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ลดลง 34.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อใช้ในการลงทุนและขยายโครงการต่างๆ ของบริษัท และบริษัทย่อย ตลอดจนเพื่อใช้ในการลงทุนบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต

อัตราดอกเบี้ยในปี 2565 และ 2564 มีอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย
2565 2564
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 1.75 – 2.10% 1.75 – 2.10%
เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 0.01 – 4.36% 0.01 – 3.88%
หนี้สินตามสัญญาเช่า (*) 3.86 – 6.25% 3.86%
หุ้นกู้ 3.40 – 4.25% 3.40 – 4.25%

* สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป กิจการต้องนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า มาปฏิบัติใช้ ซึ่ง มาตราฐานได้กำหนดหลักการของการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลของสัญญาเช่า และกำหนดให้ผู้เช่ารับรู้สินทรัพย์สินและ หนี้สินสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการที่มีระยะเวลาในการเช่ามากกว่า 12 เดือน เว้นแต่สินทรัพย์อ้างอิงนั้นมีมูลค่าต่ำ ซึ่งรายการดอกเบี้ยนั้น เกิดจากการคิดลดจากเงิน ที่จะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าตามมาตราฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้

ภาพรวมของฐานะการเงิน

รายการ 2565
ล้านบาท
2564
ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
สินทรัพย์หมุนเวียน 23,075.00 22,264.27 810.73 3.6
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 25,466.45 25,622.63 (156.18) (0.6)
รวมสินทรัพย์ 48,541.45 47,886.90 654.55 1.4
หนี้สินหมุนเวียน 10,514.46 9,604.22 910.24 9.5
หนี้สินไม่หมุนเวียน 18,471.42 19,252.82 (781.40) (4.1)
รวมหนี้สิน 28,985.88 28,857.04 128.84 0.4
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 19,555.57 19,029.86 525.71 2.8

สินทรัพย์

สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2565 เท่ากับ 48,541.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 654.55 ล้านบาท คิด เป็นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งนี้มีรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงสำคัญดังต่อไปนี้

สินทรัพย์หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2565 เท่ากับ 23,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อน สาเหตุหลักจาก

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 732 ล้านบาท ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,091 ล้านบาท เงินสดรับจากกิจกรรมลงทุน 357 ล้านบาท และมีเงินสดใช้ไปจากกิจกรรมการเงิน 700 ล้านบาท
  • เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน ลดลงจากปีก่อน 1,032 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56.3 จากปีก่อน ซึ่งคือเงินที่เป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินตามสัญญาวงเงินสินเชื่อ
  • ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้หมุนเวียนอื่น-สุทธิ เพิ่มขึ้น 388.7 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.4 จากปีก่อน ซึ่งลูกหนี้ ส่วนใหญ่เป็นของธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นรายได้จากการขายไฟฟ้า สำหรับลูกหนี้ประเภท ค่าบริการสาธารณูปโภค บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ และสงสัยจะสูญตามหลักความ ระมัดระวัง โดยการประเมินสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากยอดลูกหนี้ และระดับความเพียงพอตามมาตรฐานรายงาน ทางการเงิน ฉบับที่ 9 (TFRS 9) รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ส่วนลูกหนี้จากประเภทขายที่ดิน ไม่ มีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนให้ลูกค้าต่อเมื่อลูกค้าชำระเงินเสร็จสิ้นครบ ตามสัญญา จึงไม่มีความเสี่ยงใด ๆ
  • ต้นทุนการพัฒนาที่ดินเพิ่มขึ้น 351 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.9 จากปีก่อน เนื่องจากมีการพัฒนาโครงการใหม่ เพื่อรองรับลูกค้า
  • สินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น เพิ่มขึ้น 855 ล้านบาท จากการซื้อขายเงินลงทุนในตราสารทุนและเพิ่มขึ้นจาก การปรับมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานการบัญชี

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2565 เท่ากับ 25,466 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 จากปีก่อน โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้

  • เงินลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 993.5 ล้าทบาท คิดเป็นร้อยละ 38.8 จากปีก่อน โดยในปี 2565 ได้มีการเข้าซื้อหุ้นสามัญ ในบริษัท ซุน คอร์ป จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 25.50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระ คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 383.84 ล้านบาท และ มีการเข้าซื้อหุ้นสามัญในบริษัท ไทยยูนิเวสท์ โฮลดิ้ง กรุ๊ป จำกัด ในสัดส่วนร้อยละ 30.00 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระ แล้ว คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 600.00 ล้านบาท
  • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ลดลง 766.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 จากปีก่อน จากรายการซื้อเพิ่มในปี 867 ล้านบาท และลดลงจากการบันทีกค่าเสื่อมราคาตามนโยบายบัญชีจำนวน 1,625 ล้านบาท

หนี้สิน

บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวม 28,958 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.4 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2565 เท่ากับ 1.48 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีเท่ากับ 1.52 ทั้งนี้มีรายการหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงที่ สำคัญต่อไปนี้

หนี้สินหมุนเวียน ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2565 เท่ากับ 10,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 910.24 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.5 สาเหตุหลักมาจาก

  • เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 206 ล้านบาท จากการออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน
  • เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่น ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 1,067 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน 826 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้ของธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้า
  • หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 1,035.16 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 974.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ซึ่งเป็นเงินรับค่าที่ดินจากลูกค้าตามงวดในสัญญาที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยมี รายละเอียด มูลค่ารับชำระค่าที่ดินตามสัญญาโดยไม่รวมเงินจอง ดังนี้
โครงการ มูลค่าตามสัญญา เงินถึงกำหนดชำระ เงินรับชำระสะสม คงเหลือจำนวนที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
ล้านบาท ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %

อยุธยา

766.96 250.16 32.62 250.16 32.62 516.80 67.38

ระยอง – บ้านค่าย

49.54 4.95 9.99 4.95 9.99 44.58 89.99

ระยอง – ปลวกแดง

202.24 151.26 74.79 151.26 74.79 50.97 25.20

ปราจีนบุรี

10.00 5.00 50.00 5.00 50.00 5.00 50.00

ชลบุรี – บ่อวิน

267.12 200.25 74.97 200.25 74.97 66.87 25.03

ชลบุรี – แหลมฉบัง

576.02 57.60 10.00 57.60 10.00 518.42 90.00

ชลบุรี – หนองใหญ่

1,004.95 250.98 24.97 250.98 24.97 753.97 75.03
ชลบุรี – เขาคันทรง 222.27 55.02 24.75 55.02 24.75 167.24 75.24
  3,099.10 975.22   975.22   2,123.85  
  • เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 1,836 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 2,097 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.4 เนื่องจากในระหว่างปี 2565 บริษัทฯ ได้มีการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวตามสัญญา และบริษัทย่อยได้มีการชำระเงินกู้ก่อนกำหนด
  • หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 4,097 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 3,498 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ของบริษัทที่ถึงกำหนดชำระภายในปี 2566

หนี้สินไม่หมุนเวียน

หนี้สินไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2565 เท่ากับ 18,471.42 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 19,252.82 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 4.1 สาเหตุหลักมาจาก

  • เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน-สุทธิ ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 12,499 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 256 ซึ่งมีจำนวน 9,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 ตามเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้
  • หุ้นกู้-สุทธิ ณ สิ้นปี 2565 มีจำนวน 4,544 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 8,634 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 47.4 โดยในระหว่างปี 256 บริษัทไม่มีการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ และได้ชำระหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 3,500 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น

รายการ 2565
ล้านบาท
2564
ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
ล้านบาท
ร้อยละ
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 16,828.03 116,092.41 735.62 4.60
ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 2,727.54 2,937.45 (209.91) (7.10)
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 19,555.57 19,029.86 525.71 2.80

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ณ สิ้นปี 2565 เท่ากับ 16,828 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 16,092.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเนื่องจากรับรู้กำไรสุทธิ หักด้วยการจ่ายเงินปันผล

ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ณ สิ้นปี 2565 เท่ากับ 2,728 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 2,937 ล้านบาท ซึ่งลดลงเนื่องจากมีการจำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท ซากูระจูจิโรจนะ เมดิคัล จำกัด และจากการรับรู้ ขาดทุนสุทธิสำหรับปี และหักด้วยการจ่ายเงินปันผล

จากฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2565 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติการจ่ายปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 53 ของกำไรสำหรับปีของส่วนที่เป็น ของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่

วิเคราะห์งบกระแสเงินสด

รายการ งบการเงินรวม (หน่วย : ล้านบาท)
2565 2564 2563
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,090.62 2,202.40 2,974.01
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน 357.18 1,193.03 (1,877.44)
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน (699.99) (1,516.12) (2,316.68)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) - สุทธิ 747.81 1,879.31 (1,220.11)
ผลกระทบจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย (15.65) - -
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 2,692.25 812.94 2,033.05
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 3,424.41 2,692.25 812.94

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทและบริษัทย่อย มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 3,424.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 732 ล้านบาท หรือร้อยละ 27 จากสิ้นปี 2564 โดยมีสาเหตุหลักดังนี้

  1. กระแสเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,090.62 ล้านบาท โดยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน 2,227.58 ล้านบาท
    (1) เปลี่ยนแปลงจากสินทรัพย์ดำเนินงานเพิ่มขึ้น 491.40 ล้านบาท รายการส่วนใหญ่ได้แก่ ลูกหนี้การค้าและ ลูกหนี้หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 403.48 ล้านบาท, ต้นทุนพัฒนาที่ดินลดลง 80.37 ล้านบาท เงินจ่ายล่วงหน้าซื้อที่ดินและ ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 128.77 ล้านบาท และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 214.21 ล้านบาท
    (2) เปลี่ยนแปลงจากหนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น 360.56 ล้านบาท รายการส่วนใหญ่ได้แก่ เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้ หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 250.76 ล้านบาท และหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเพิ่มขึ้น 61.02 ล้านบาท และ
    (3) เงินสดจ่ายต้นทุนทางการเงิน 1,003.89 ล้านบาท
  2. กระแสเงินสดได้มาในกิจกรรมลงทุน 357.18 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากเงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันลดลง 1,032.08 ล้านบาท เงินสดรับจากเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 1,400 ล้านบาท เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนใน บริษัทย่อยจากผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 995.09 ล้านบาท ที่ดินรอการพัฒนาเพิ่มขึ้น 229.35 ล้านบาท และเงินสดจ่ายซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 838.94 ล้านบาท
  3. กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 699.99 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากรายการหลัก ได้แก่ เงินสดรับจากเงิน กู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 9,366.33 ล้านบาท เงินสดจ่ายชำระคืนหุ้นกู้ 3,500 ล้านบาท และมีเงินปันผลจ่าย 434.09 ล้านบาท

อัตราส่วนทางการเงินที่สําคัญ

อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทฯและบริษัทย่อยในปี 2565 และ 2564 ซึ่งเท่ากับ 2.19 เท่า และ 2.32 เท่า ตามลำดับ อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วปี 2565 และ 2564 ซึ่งเท่ากับ 1.09 เท่า และ 0.99 เท่า ตามลำดับ โดยจะเห็นว่าบริษัทฯ มีสภาพ กล่องเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจและการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาที่ดินและให้บริการเพิ่มขึ้นตามความ ต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ดี หาก
บริษัทฯและบริษัทย่อยคาดว่ามีปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะมี ผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะดำเนินการหาทางป้องกันและแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวให้น้อยลง หรือหมดไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ 1.48 เท่า และ 1.52 เท่า ตามลำดับความสามารถใน การชำระดอกเบี้ย ปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ 3.86 เท่า และ 5.11 เท่า ตามลำดับ และมีอัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน ปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ 0.52 เท่า และ 0.76 เท่า ตามลำดับ

ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท มีอัตรากำไรขั้นต้น ปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 7.75 และร้อยละ 17.65 ตามลำดับ อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 3.88 และร้อยละ 13.7 ตามลำดับ อัตรากำไรสุทธิปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 5.82 และร้อยละ 15.70 ตามลำดับ และอัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไรปี 2565 และ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 49.41 และร้อยละ 59.73 ตามลำดับ

ความเหมาะสมของโครงสร้างเงินทุน

บริษัทมีแหล่งเงินทุนหลักเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ คือ เงินทุนจากการดำเนินงาน และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินทั้งระยะยาวและระยะสั้น โดยจะมีการประเมินโครงสร้างทาง การเงินและโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อกิจการ

ปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินหรือการขยายธุรกิจในอนาคต

บริษัทและบริษัทย่อยมีแผนการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยการขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพัฒนาเขต/สวน อุตสาหกรรมในภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 แห่ง ซึ่งในภูมิภาคนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ มีแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ ระบบโลจิสติกส์ทั้งระบบ สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาล กำหนดไว้

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ ได้แก่ (1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจ การเมืองในประเทศ (2) นโยบายของบริษัทข้ามชาติในการกระจายฐานการผลิตและการลงทุนมายังประเทศไทย (3) ศักยภาพทางด้านกายภาพและ ภูมิศาสตร์ของประเทศและ (4) กฎระเบียบ/หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่นักลงทุนในนิคมฯ