Investor Relations

คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน

ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทย

ในปี 2566 มูลค่าการขอรับการส่งสริมการ ลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีมูลค่ารวม 8.5 แสนล้านบาทสูงสุดในรอบ 5 ปี และขยายตัวในเกณฑ์สูงจากปีก่อนร้อยละ 43.4 เช่นเดียวกับยอดอนุมัติและยอดออกบัตรส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่า 7.5 แสนล้านบาท และ 4.9 แสนล้านบาท ตามลำดับ โดยมีปัจจัยจากนโยบายสนับสนุนการลงทุนในประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยโดยการส่งเสริมการลงทุนผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุนสูงสุด ในปี 2566 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (342,149 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.0) ยานยนต์และชิ้นส่วน (82,282 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.2) เกษตรและแปรรูปอาหาร (74,416 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.0) ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (45,951 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.4) และเทคโนโลยีชีวภาพ (31,814 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.1) และหากพิจารณาการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2566 พบว่า มูลค่าเงินลงทุนรวมอยู่ที่ 6.6 แสนล้านบาท ขยายตัว ในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 71.7 โดยประเทศที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมมากที่สุด ได้แก่ จีน 159,387 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 115.5 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 24.0) สิงคโปร์ 123,385 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.0 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.6) สหรัฐฯ 83,954 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.7) และญี่ปุ่น 79,151 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.9 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.9) ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการขอรับส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจด้านการลงทุน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.9 ในปี 2566 ขณะที่ดัชนี ความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมกลับมาทรงตัวที่ระดับ 50.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี สะท้อนถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลการนำเข้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 พบว่า มูลค่าการนำเข้ากลับมาขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามการกลับมาขยายตัวของ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาสที่ร้อยละ 3.5 สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือที่ขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 5.2

ภายใต้การเพิ่มขึ้นต่อเนื่องของมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน อนุมัติ และออกษัตรส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งทิศทางเริ่มกลับมาขยายตัวของการส่งออกและการนำเข้าสินค้า ตามแนวโน้มการกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นของปริมาณการค้าโลก ทำให้คาดว่าการลงทุนภาคเอกชนในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเร่งขึ้นภายหลังจากที่ชะลอลงในปี 2566 โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้หมาย อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวรวมกันอยู่ที่ 403,489 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76.3 ของมูลค่าโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปี 2566

ในด้านธุรกิจนิยมอุตสาหกรรมมีทิศทางฟื้นตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งจะหนุนผลประกอบการของธุรกิจจากยอดขายและให้เช่าที่ดินที่จะกลับมาขยายตัวดี โดยรายได้ของผู้ประกอบการอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของนิคมฯ สรุปได้ดังนี้

  • นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก : รายได้มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นกว่าพื้นที่อื่นๆ โดยคาดว่าความต้องการซื้อหรือเช่าที่ดิน จะขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโครงการ EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ซึ่งจะดึงดูดความสนใจจาก นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐให้การส่งเสริม
  • นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคกลาง : รายได้คาดว่าจะยังเติบ ได้ดี โดยเฉพาะรายได้จากค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าเช่า เนื่องจากนิคมฯ พื้นที่ภาคกลางมีความได้เปรียบเชิงกายภาพด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นขณะที่การขยายพื้นที่ของผู้ประกอบการยังค่อนข้างจำกัด เนื่องจากพื้นที่ที่มีศักยภาพข้อมูลพื้นฐานกระจุกอยู่เพียงกรุงเทพฯ สมุทรปราการ อยุธยา และสระบุรี เท่านั้น
  • นิคมอุตสาหกรรมพื้นที่อื่นๆ : รายได้มีแนวโน้มทรงตัว ตามความต้องการซื้อหรือเช่าที่ดินที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากยังต้องรอแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐ โดยเฉพาะความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ เส้นทางคมนาคมขนส่งที่เชื่อม โยงต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและในพื้นที่ใกล้เคียง จึงมีแนวโน้มที่นิคมฯ ในพื้นที่นี้อาจจะยังเติบโตช้ากว่า 2 พื้นที่ข้างต้น

(1) ทิศทางเศรษฐกิจโลกแถะภาวะเศรษฐกิจ/การเมืองในประเทศ

(2) นโยบายของบริษัทข้ามชาติในการกระจายฐานการผลิตและการลงทุนมายังประเทศไทย

(3) ศักยภาพทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ของประเทศ

(4) กฎระเบียบ/หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่สนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่นักลงทุนในนิคมฯ ทั้งนี้ นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในนิคมฯ ในไทยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จีน และสหรัฐฯ ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์แถะการขนส่งเป็นกลุ่มที่มีการลงทุนมากที่สุดในนิคมฯ ทั่วประเทศ

แหล่งที่มาของข้อมูล : สำชักงานสภาพัฒนาการเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ตารางสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2566 ปี 2565 เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
รายได้จากการดำเนินงาน 19,275.39 17,168.10 2,107.29 12.3
ต้นทุนจากการดำเนินงาน (15,377.55) (15,827.89) (450.34) (2.8)
รายได้เงินปันผล 78.09 63.69 14.40 22.6
กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน (1,139.73) 613.87 (1,753.60) (285.7)
กำไร(ขาดทุน)จากการขายสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น - 375.55 (375.55) (100.0)
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและตื้นทุนในการจัดจำหน่าย 800.70 663.82 136.88 20.6
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 82.42 41.96 40.46 96.4
ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในการร่วมค้า (6.84) 374.24 (381.08) (101.8)
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้2 2,141.38 2,207.29 (65.91) (3.0)
ต้นทุนทางการเงิน (1,027.12) (992.83) (34.29) 3.5
รายได้(ค่าใช้จ่าย)ภาษีเงินได้ 39.18 (230.59) 269.77 (117.0)
กำไรสำหรับปี 1,095.54 983.87 111.67 11.4
การแบ่งปันกำไร        
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 980.15 1,139.71 (159.56) (14.0)
ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 115.38 (115.84) 271.22 (174.0)

ภาพรวมของผลการดําเนินงาน

บริษัทฯ มีกำไรสุทธิสำหรับปี 256 เท่ากับ 1,095.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันปีก่อนเนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้าที่ซื้อที่ดินจำนวน 1,396 ไร่ โดยภาพรวมบริษัทและบริษัทย่อยดำเนินธุรกิจแยกเป็นส่วนงานธุรกิจหลักได้ 2 ประเภทคือธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และระบบสาธารณูปโภค ผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำใช้เพื่ออุตสาหกรรม

ผลประกอบการจากการดำเนินธุรกิจหลัก

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 5,483.38 2,443.61 1,242.68
รายได้จากการขายไฟฟ้า 13,094.17 13,995.61 10,552.37
รายได้จากการให้บริการและให้เช่า 697.84 728.88 764.04
รวม 19,275.39 17,168.10 12,559.09

รายได้จากการประกอบกิจการ ของบริษัทและบริษัทย่อย คือ รายได้จากการขายที่ดิน, รายได้จากการขายไฟฟ้า ,บริการและค่าเช่า ในปี 2566 มีรายได้จากการประกอบธุรกิจหลัก 19,275.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 17,168.10 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 12.,559,09 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

ธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายที่ดิน ปี 2566 เท่ากับ 5,483.38 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 256 ซึ่งมีจำนวน 2,413.61 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 1,242.68 ล้านบาท โดยบริษัทฯดำเนินธุรกิจในประเภทเขต/สวนอุตสาหกรรมจำนวน 10 โครงกร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,จังหวัดระยอง(อำเภอบ้านค่ายและปลวกแดง),จังหวัดปราจีนบุรีและในจังหวัดชลบุรี (บ่อวิน, เขาคันทรง, แหลมฉบัง, หนองใหญ่ และเขาไม้แก้ว) ซึ่งลูกค้าให้ความสนใจด้านทำเลที่ตั้งและการคมนาคมขนส่งที่สะดวกและรวดเร็วประกอบกับสิทธิประโยชน์ภายใต้พรบ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) โดยในด้านการตลาด บริษัทได้ร่วมมือกับ Nippon Steel Trading Corporation ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเข้ามาทำการตลาดให้ นอกจากนี้บริษัทยังเสริมด้านการตลาดโดยการจัดตั้งทีมงานฝ่ายการตลาดของบริษัทที่เป็นคนไทยและคนจีน โดยเฉพาะ เพื่อคอยดูแลนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศทั้งในด้านก่อนการขายและบริการหลังการขาย ในปีนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าชาวจีน และญี่ปุ่นรองลงมา การรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามงบการเงินจะรับรู้รายได้ต่อเมื่อมีการ โอนกรรมสิทธิ์ไปให้กับลูกค้าซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทและบริษัทย่อยได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้าที่ซื้อที่ดินในโครงการที่พระนครศรีอยุธยา, ระยองปลวกแดง,ชลบุรี-แหลมฉบัง, ชลบุรี-เขากันทรง ชลบุรี-บ่อวิน และชลบุรี-หนอง ใหญ่ รวมเป็นจำนวน 1,396 ไร่

ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รายได้จากการ ขาย ไฟฟ้า ปี 2566 เท่ากับ 13,094.17 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.4 เนื่องจากค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ลดลง ตามการประกาศของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานบริษัทย่อย (บริษัท โรจนะเพาเวอร์ จำกัด) เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Cogeneration Power Plant) ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีกำลังกรผลิตรวม 470 เมกะวัตต์ซึ่งขายให้กับกฟผ. 270 เมกะวัตต์ (ในรูปแบบสัญญาSPP-Firm ส่วนที่เหลือขายให้กับโรงงานเอกชนภายในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนรศรีอยุธยา

บริษัทย่อย (บริษัท โรจนะ เอ็นเนอร์จี จำกัด) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีกำลังการผลิตรวม 24 เมกะวัตต์ และการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับซื้อทั้งหมดภายใต้สัญญา VSPP ประกอบกับบริษัทย่อยอีก 2 แห่ง ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ประเภทติดตั้งบนหลังคา โดย บริษัท อาร์เจ เอนเนอร์ จำกัด และบริษัท อาร์แอลเอ็น เอ็นเนอร์ จำกัด มีกำลังการผลิตรวม 21 มกะวัตต์

ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตน้ำเพื่ออุตสาหกรรมและการบำบัดน้ำเสีย มีรายได้ในส่วนค่าเช่าและบริการปี 2566 เท่ากับ 698 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 729 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 4.6 และลดลงจากปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 730 ล้านบาท บริหารจัดการ โดยบริษัทและบริษัทย่อย (บริษัทย่อย คือ บริษัท โรจนะ อินดัสเตรียล แมเนจเม้นท์ จำกัด) เป็นการให้บริการแก่โรงงานอุตสาหกรรมภายในโครงการ ในงบการเงินรวมจะมีการตัดรายการระหว่างกัน

ต้นทุนขายสินค้าและบริการ

หน่วย: ล้านบาท

ปี 2566 ปี 2565 เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ – สุทธิ 2,902.68 1,241.08 1,661.60 133.9
ต้นทุนการขายไฟฟ้า – สุทธิ 11,917.98 14,034.94 (2,116.96) (15.1)
ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า – สุทธิ 556.89 551.87 5.02 (15.1) 0.9
ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่าย 800.70 663.82 136.88 20.6

ต้นทุนการขายอสังหาริมทรัพย์ ปี 2566 และ 2565 เท่ากับ 2,902.68 ล้านบาท และ 1,241.08 ล้านบาท ตามลำดับ ต้นทุนขายที่ดินในปี 2566 มีอัตราสูงกว่าปี 2565 เนื่องจากมีการโอนที่ดินบางโครงการที่ต้นทุนที่ดินราคาสูง ในปี 2566 มีที่ดินที่ โอน กรรมสิทธิ์จำนวนรวม 1,396 ไร่ ซึ่งมากกว่าปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 642 ไร่

ต้นทุนการขายไฟฟ้า - สุทธิ ปี 2566 และ 2565 เท่ากับ 11,917.98 และ 14,034.94 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2566 ลดลงจากปี 2565 คิดเป็นร้อยละ 15.1 จากราคาของก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง

ต้นทุนการให้บริการและให้เช่า ปี 2566 และ 2565 เท่ากับ 556 และ 54 ล้านบาท ตามลำดับ โดยต้นทุนในปี 2566 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากรายการหลักคือค่าไฟฟ้าที่ปรับราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

ค่าใช้จ่ายในการบริหารและต้นทุนในการจัดจำหน่ายปี 2566 ของบริษัทและ บริษัทย่อย เท่ากับ 800.70 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 136.88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.6 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.2 ของรายได้จากการประกอบกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจเพื่อติดต่อ ลูกค้า, การโฆษณาประชาสัมพันธ์, ค่านายหน้า, ค่าใช้ง่ายเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้กับลูกค้า

ต้นทุนทางการเงินปี 2566 บริษัทและบริษัทย่อยมีต้นทุนทางการเงิน เท่ากับ 1,027 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้น 34.49 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 จากอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารปรับสูงขึ้น เงิน กู้ยืมดังกล่าวนำมาใช้ในการลงทุนและขยายโครงการต่างๆ ของบริษัทและบริษัทช่อย เป็นหนี้สินที่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่ทำให้เกิดรายได้ในอนาคตอัตราดอกเบี้ยใน ปี 2566 และ 2565 มีอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยในปี 2566 และ 2565 มีอัตราดอกเบี้ยของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ดังนี้

อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย
2566 2565
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน - 1.75 – 2.10%
เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน - 0.01 – 4.36%
หนี้สินตามสัญญาเช่า * 3.51-5.79% 3.86 – 6.25%
เจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระ 4.00-5.01% 4.36 - 8.93%
หุ้นกู้ 3.85-4.25% 3.40 – 4.25%

* สภาวิชาชีพบัญชี กำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป กิจการต้องนำมาตร ฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่องสัญญาเช่า มาปฏิบัติใช้ ซึ่งมาตราฐานได้กำหนดหลักการของกรรับรู้รายกร การวัดมูลค่า กรแสดงรายกรและการเปิดเผยข้อมูลของสัญญาเช่า และกำหนดให้ผู้เช่ารับรู้สินทรัพย์สินและหนี้สินสำหรับสัญญาเช่าทุกรายการที่มีระยะเวลาในการเช่ามากกว่า 12 เดือน เว้นแต่สินทรัพย์อ้างอิงนั้นมีมูลค่าต่ำ ซึ่งรายการดอกเบี้ยนั้น เกิดจากการคิดลดจากเงินที่จะต้องจ่ายตามสัญญาเช่าตามมาตราฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้

ภาพรวมของฐานะการเงิน

รายการ 2566
ล้านบาท
2565
ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง ร้อยละ
สินทรัพย์หมุนเวียน 21,788.97 23,075.00 (1,286.03) (5.6)
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 25,906.88 25,466.45 440.43 1.7
รวมสินทรัพย์ 47,695.85 48,541.45 (845.60) (1.7)
หนี้สินหมุนเวียน 11,291.07 10,514.46 776.61 7.4
หนี้สินไม่หมุนเวียน 16,470.83 18,471.42 (2,000.59) (10.8)
รวมหนี้สิน 27,761.90 28,985.88 (1,223.98) (4.2)
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 19,933.95 19,555.57 378.38 1.9

สินทรัพย์

สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 47,695.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 845.60 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปี 2565 ทั้งนี้มีรายการสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงสำคัญดังต่อไปนี้

สินทรัพย์หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับ 21,788.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากปีก่อน โดยมีรายการสำคัญดังนี้

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 342.7 7 ล้านบาท ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 10,037.16 ล้านบาท เงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุน 3,392.29 ล้านบาท และมีเงินสดใช้ไปในกิจกรรมการเงิน 6,300.74 ล้านบาท
  • เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,778.85 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 221.90 จากปีก่อน เป็นเงินที่เป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ตามสัญญาวงเงินกู้ยืม ต้นทุนการพัฒนาที่ดินลดลง 1,980.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21 จากปีก่อน โดยลดลงจากการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับลูกค้าเป็นการรับรู้ต้นทุนอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 2,902.68 ล้ำนบาท ประกอบกับมีการพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้น
  • สินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น ลดลง 637.59 ล้านบาท จากการซื้อขายเงินลงทุนในตราสารทุนและลดลงจากการปรับมูลค่ายุติธรรมตามมาตรฐานการบัญชี ที่ยังไม่ได้มีการขายจริง

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับ 25,906.88 ถ้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันในปีก่อน 440.43 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1.7 โดยมีรายการสำคัญ ดังนี้

  • เงินลงทุนในการร่วม - สุทธิ ลดลง 1 5.34 านบาท ดเป็นร้อยละ 95.20 จากการขายเงินลงทุนในบริษัท บริหารสินทรัพย์ รัชคาร จำกัด
  • สินทรัพย์ทางการเงินไม่หมุนเวียนอื่น - สุทธิ เพิ่มขึ้น 19 1.24 ล้านบาท จากการลงทุนในบริษัท แพทย์รังสิตเฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  • ที่ดินรอการพัฒนา เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 1,131.22 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.50 จากการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคต
  • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ลดลง 821.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.40 จากปีก่อน จากการซื้อ เป็นจำนวนเงิน 970 ล้านบาท และลดลงจากการบันทึกค่าสื่อมราคาตามนโยบายบัญชีจำนวน 1,727 ล้านบาท

หนี้สิน

บริษัทและบริษัทย่อย มีหนี้สินรวม 27,761.90 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 1,223 98 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.2 โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2565 เท่ากับ 1.39 ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีเท่ากับ 1.48 ทั้งนี้มีรายการหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังต่อไปนี้

หนี้สินหมุนเวียน ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 1 1,291.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 776.61 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.45 โดยมีรายการสำคัญดังนี้

  • เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง 1,497.20 ล้านบาท จากการชำระหนี้ตามสัญญา
  • เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่น ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวน 1,516.496 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 449.66 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.20 โดยส่วนใหญ่เป็นเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นของธุรกิจโรงงานผลิตไฟฟ้า
  • หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวน 4,373.12 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 1,035.16 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 3,337.96 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 322.50 เป็นเงินรับชำระค่าที่ดินตามงวดในสัญญาที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้
โครงการ มูลค่าตามสัญญา เงินถึงกำหนดชำระ เงินรับชำระสะสม คงเหลือจำนวนที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ
ล้านบาท ล้านบาท % ล้านบาท % ล้านบาท %

อยุธยา

1,623.30 1,130.26 69.63 1,130.26 69.63 493.04 30.37

ระยอง – บ้านค่าย

49.54 4.95 9.99 4.95 9.99 44.59 90.01

ระยอง – ปลวกแดง

107.85 90.87 84.26 90.87 84.26 16.98 15.74

ปราจีนบุรี

170.59 47.65 27.93 47.65 27.93 122.94 72.07

ชลบุรี – บ่อวิน

651.76 477.19 73.22 477.19 73.22 174.57 26.78

ชลบุรี – แหลมฉบัง

1,194.41 475.46 39.81 475.46 39.81 718.95 60.19

ชลบุรี – หนองใหญ่

2,635.13 1,587.10 60.23 1,587.10 60.23 1,048.03 39.77
ชลบุรี – เขาคันทรง 668.94 389.62 58.24 389.62 58.24 279.32 41.76
  7,101.52 4,203.10   4,203.10   2,898.42  
  • หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวน 2,299.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 4,096.89 ล้านบาท ลดลง 1,797.45 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.90 ลดลงจากการชำระคืนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระประกอบกับมีการจัดประเภทหุ้นกู้ของบริษัทที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี

หนี้สินไม่หมุนเวียน

หนี้สินไม่หมุนเวียน ณ สิ้นปี 31 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 16,470.83 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 18,471.42 ล้านบาท ลดลง 2,000.59 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.80 จากรายการสำคัญดังนี้

  • เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน-สุทธิ ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวน 12,983 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 12,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 489.01 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 36 เป็นเงินกู้ที่ใช้ในสินทรัพย์ ที่ดิน อาการและอุปกรณ์การเบิกเงินกู้เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญา
  • หุ้นกู้-สุทธิ ณ สิ้นปี 2566 มีจำนวน 2,248.11 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 4,544 ล้านบาท ลดลง 2,295.89 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 47.4 โดยในระหว่างปี 256 บริษัทไม่มีการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ และได้ชำระหุ้นกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 4,100 ล้านบาท

ส่วนของผู้ถือหุ้น

รายการ 2566
ล้านบาท
2565
ล้านบาท
เปลี่ยนแปลง
ล้านบาท
ร้อยละ
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 17,118.85 16,828.03 290.82 1.70
ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 2,815.10 2,727.54 87.56 3.20
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 19,933.95 19,555.57 525.71 2.80

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับ 17,118.85 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 16,828.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเนื่องจากรับรู้กำไรสุทธิสำหรับปี 896.95 ล้านบาท หักด้วยการจ่ายเงินปันผล 606.13 ล้านบาท

ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ณ สิ้นปี 2566 เท่ากับ 2,815.10 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 2,727.54 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการรับรู้กำไรสำหรับปี 117.57 ล้านบาท และหักด้วยการง่ายเงินปั่นผล 30 ล้านบาท

จากฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานในปี 2566 คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติการจ่ายปันผลสำหรับปี 2566 ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 82 ของกำไรสำหรับปีของส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่

วิเคราะห์งบกระแสเงินสด

รายการ งบการเงินรวม (หน่วย : ล้านบาท)
2566 2565 2564
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 10,037.16 1,090.62 2,202.40
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน (3,392.29) 357.18 1,193.03
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน (6,300.74) (699.99) (1,516.12)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) - สุทธิ 344.13 747.81 1,879.31
ผลกระทบจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย (1.36) - -
ผลกระทบจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย -    
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 3,424.41 2,692.25 812.94
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 3,767.18 3,424.41 2,692.25

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566 บริษัทและบริษัทย่อย มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำนวน 3,776.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 342.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.01 โดยมีรายการสำกัญหลักดังนี้

  1. กระแสเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 10,037.16 ล้านบาท โดยมีกำไร จากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน 4,837.54 ล้านบาท
    1.1 เงินสดเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ดำเนินงานลดลง 2,280.31 ล้านบาท รายการส่วนใหญ่ได้แก่เงินสดเพิ่มขึ้นจากลูกหนี้การค้าและลูกหนี้หมุนเวียนอื่น 423. 17 ล้านบาท, เงินสดเพิ่มขึ้นต้นทุนพัฒนาที่ดิน 1,966.47 ล้านบาท และเงินจ่ายล่วงหน้าซื้อที่ดินและก่อสร้างเพิ่มขึ้น 97.05 ล้านบาท
    1.2 เงินสดเพิ่มขึ้นจากเปลี่ยนแปลงของหนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น 4,091.41 ล้านบาท รายการส่วนใหญ่ได้แก่เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 455.43 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 100.65 ล้านบาท ประมาณการต้นทุนพัฒนาที่ดินเพิ่มขึ้น 140.11 ล้านบาท และหนี้สินที่เกิดจากสัญญาเพิ่มขึ้น 3,337.96 ล้านบาท
    1.3 เงินสดจ่ายต้นทุนทางการเงิน 956.36 ล้านบาท และเงินสดจ่ายภาษีเงินได้ 299.43 ล้านบาท
  2. กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุน 3,392.99 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากเงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันเพิ่มขึ้น 1,778.85 ล้านบาท เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่นและไม่หมุนเวียนอื่น 822.44 ล้านบาท เงินสดรับจากเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 597.75 ล้านบาท ที่ดินรอการพัฒนาเพิ่มขึ้น 1,131.23 ล้านบาท เงินสดจ่ายซื้อที่ดินอาคารและอุปกรณ์ 539.46 ล้านบาท
  3. กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 6,300.74 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากรายการหลัก ได้แก่ เงินสดจ่ายชำระคืน หุ้นกู้ 4,100 ล้านบาท เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 1,500 ล้านบาท เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 1,901.43 ล้านบาท เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 2,192.50 ล้านบาท และเงินปันผลจ่าย 636.14 ล้านบาท

อัตราส่วนทางการเงินที่สําคัญ

อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทฯและบริษัทย่อยใน ปี 2566 และ 256 ซึ่งเท่ากับ 1.93 เท่า และ 2.19 เท่า ตามลำดับอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว ปี 2566 และ 2565 ซึ่งเท่ากับ 0.95 เท่า และ 1.09 เท่า ตามลำดับ โดยจะเห็นว่าบริษัทฯ มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจและการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาที่ดินและ ให้บริการเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า อย่างไรก็ดี หากบริษัทฯและบริษัทย่อยคาดว่ามีปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะดำเนินการหาทางป้องกันและแก้ไขปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยดังกล่าวให้น้อยลงหรือหมดไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ 1.39 เท่า และ 1.48 เท่า ตามลำดับ ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย ปี 2566 และ 2566 อยู่ที่ 3.77 เท่า และ 3.86 เท่า ตามลำดับ และมีอัตราส่วนความสามารถชำระภาระผูกพัน ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ 0.98 เท่า และ 0.52 เท่า ตามลำดับ

ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท มีอัตรากำไร ขั้นต้น ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 20.22 และร้อยละ 7.75 ตามลำดับ อัตรากำไรจากการดำเนินงาน ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 16.07 และร้อยละ 3.88 ตามลำดับ อัตรากำไรสุทธิ ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.93 และร้อยละ 5.26 ตามลำดับ และอัตราส่วนเงินสดต่อการทำกำไร ปี 2566 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 468.73 และร้อยละ 49.41 ตามลำดับ

ความเหมาะสมของโครงสร้างเงินทุน

บริษัทมีแหล่งเงินทุนหลักเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ คือ เงินทุนจากการดำเนินงาน และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินทั้งระยะยาวและระยะสั้น โดยจะมีการประเมินโครงสร้างทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำเพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดต่อกิจการ

ปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินหรือการขยายธุรกิจในอนาคต

บริษัทฯและบริษัทย่อยมีแผนการขยายธุรกิจในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยการขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพัฒนาเขต/สวนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก จำนวน 4 แห่ง ซึ่งในภูมิภาคนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อขับเลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ มีแผนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน และระบบโลจิสติกส์ ทั้งระบบ สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้

ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ ได้แก่

(1) ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงิน โลกที่อาจทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกขยายตัวต่ำกว่าสมมติฐานการประมาณการประกอบด้วย ความเสี่ยงจากสถานการณ์ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, ความผันผวนของระดับราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์, กรชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากปัญหาหนี้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์และหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูง

(2) นโยบายของบริษัทข้ามชาติในการกระจายฐานการผลิตและการลงทุนมายังประเทศไทย

(3) ศักยภาพทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ของประเทศและ

(4) กฎระเบียบ/หลักเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐที่สนับสนุนการลงทุนภากอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่นักลงทุนในนิคมฯ

(5) การใช้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA) และมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ข้อตกลงทางการค้าเสรี (Free trade agreement) ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญด้านการค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบัน FTA ของไทยที่มีผลบังคับใช้แล้วมี จำนวน 15 ฉบับ (ครอบคลุม 19 ประเทศ) โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ไทยได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีฉบับที่ 15 ร่วมกับศรีลังกา (SLTFTA) สำหรับ FTA ที่กำลังอยู่ในช่วงเจรจานั้น พบว่า มีอยู่ 7 ฉบับ โดยข้อตกลงที่น่าจะเจรจาเสร็จสิ้นในปี 2567 ได้แก่ CEPA (ไทย-สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์), และ TH-EFTA FTA (ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป) นอกจกนี้ข้อตกลงที่คาดว่าจะเจรจาสำเร็จในช่วงปี 2568 ได้แก่ TH-EU FTA (ไทย-สหภาพยุโรป), และ ACAFTA (อาเซียน-แคนาคา) ขณะที่ข้อตกลงที่มีแนวโน้มการเจรจาเสร็จสิ้นหลังปี 2568 ได้แก่ PATHFTA (ไทย-ปากีสถาน), และ TRTHFTA (ไทย-ตุรกี) เป็นต้น ซึ่งพบว่าความสำคัญของการใช้สิทธิ FTA ของไทยนั้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นลำดับ สะท้อนจากสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกที่ใช้สิทธิ FTA เทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ 43.3 ในช่วงการเกิดสงครามการค้า (25 58 - 2560) เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยร้อยละ 52.4 ในช่วงหลังการแพร่ ระบาดของ โรคโควิด- 19 (2565 - 2566) ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้สิทธิ FTA ของผู้ส่งออกในประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง